วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บทที่2เรื่องอิเหนา ตอนศึกกะะหมังกุหนิง

          บทที่ ๒ อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง

แนวคิด    อิเหนา เป็นวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องของบทละครลำ เพราะเป็นหนังสือซึ่งแต่งดีทั้งกลอน ทั้งความ และทั้งกระบวนการที่ตะเล่นละครประกอบการ และยังเป็นหนังสือที่ดี ในทางที่ตะศึกษาประเพณีไทยสมัยโบราณ  แม้บทละครเรื่องอิเหนาจะมีเค้าโครงมาจากนิทานพื้นเมืองของชาวชวา  เอกสารที่เกี่ยวข้องมีดังนี้
  ๒.๑ ความเป็นมา
๒.๒ ประวัติผู้แต่ง
๒.๓ ลักษณะคำประพันธ์
 ๒.๔ เรื่องย่อ
 ๒.๕ เนื้อเรื่อง
๒.๖ คำศัพท์

 ๒.๗ บทวิเคราะห์



ความเป็นมา

     อิเหนา เป็นวรรณคดีที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งชาวชวาได้แต่งขึ้นเอเฉลิมพระเกียรติแด่พระมหากษัตริย์ ชวาพระองค์นี้ทรงนำความเจริญให้แก่ชาวชวา ซึ่งพระองค์เป็นทั้งนักรบ นักปกครอง และพระองค์ทรงมี พระราชธิดา ๑ พระองค์ และพระราชโอรส ๒ พระองค์ เมื่อพระราชธิดาของพระองค์ได้ทรงเสด็จออกผนวช จึงได้แบ่งราชอาณาจักรเป็น ๒ ส่วน คือกุเรปัน และ ดาหา    ต่อมาท้าวกุเรปันได้ทรงมีพระราชโอรสพระองค์หนึ่ง และท้าวดาหาทรงมีพระราชธิดาพระองค์หนึ่ง ซึ่งทั้งสองพระองค์มีพระนามว่า อิเหนาและบุษบา เมื่อเจริญพระชันษา อดีตพระราชธิดาของกษัตริย์พระองค์เดิมที่เสด็จออกผนวช จึงมีพระดำริให้อิเหนาและบุษบาอภิเษกกัน เพื่อให้กุเรปันและดาหากลับมารวมกันเป็นราชอาณาจักรเดียวกันดั่งเดิม                                                                
                                                                                                       
       เนื่องจากนิทานอิเหนาเป็นเรื่องราวที่ได้รับความนิยมจากชาวชวาเป็นอย่างมาก เนื้อเรื่องจึงปรากฏเป็นหลายสำนวน และเมื่อได้เข้ามาสู่ประเทศไทย มีคำกล่าวสืบเนื่องกันมาว่าพระราชิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศกับเจ้าฟ้าสังวาล  คือ  เจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎได้ฟังนิทานอิเหนาจากนางกำนัลชาวมลายูที่ได้มาจากเมืองปัตตานี  พระราชธิดาทั้งสองพระองค์จึงมีพระราชธิดาจึงมีพระราชนิพนธ์ขึ้นนิทานเรื่องนี้ขึ้น เจ้าฟ้ากุณฑลทรงนิพนธ์บทละครเรื่องของดาหลัง ส่วนเจ้าฟ้ามงกุฎทรงนิพนธ์เป็นละครเรื่อง  อิเหนา  แต่คนทั่วไปมักเรียกบทพระราชนิพนธ์ของทั้งสองพระองค์นี้ว่า อิเหนาใหญ่ และอิเหนาเล็ก  นิทานปันหยีของไทยจึงมี ๒ สำนวนแต่นั้นมา                                                                                    
     สมัยรัตนโกสินทร์  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชก็ทรงพระราชนิพนธ์บทละคร อิเหนา ขึ้น โดยยังคงเค้าโครงเรื่องเดิม ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้พระราชนิพนธ์ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เนื่องจาก เนื้อความเข้ากันไม่สนิทกับบทเมื่อครั้งกรุงเก่าและนำมาเล่นละครได้ไม่เหมิจึงทรงพระราชนิพนธ์ใหม่ให้สั้นและสอดคล้องกับท่ารำโดยรักษากระบวนการเดิม แล้วพระราชทานให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิทักษ์มนตรีซึ่งเชี่ยวชาญในการละคร ได้นำไปประกอบท่ารำและฝึกซ้อมจนเห็นสมควรว่าดี แล้วจึงรำถวายให้ทอดพระเนตรเพื่อให้มีพระบรมราชวินิจฉัยอีครั้งเป็นอันเสร็จ
         ประวัติผู้แต่ง                                                                                                                                                                                         อิเหนาเป็นบทละครรำพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมหาราช รัชกาลที่ ๒ แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี ตลอดระยะเวลาที่พระองค์ทรงครองราชย์ เป็นสมัยที่วรรณคดีเจริญที่สุดในสมัยนี้หลาย เรื่องได้รับการยกย่องว่าเป็นยอดของวรรณคดี  และทรงได้รับการเทิดพระเกียรติจากองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ในฐานะบุคคลสำคัญของโลก
     
บทละครรำ เรื่อง อิเหนา มีรูปแบบการแต่งกลอนบทละครซึ่งมีลักษณะบังคับเหมือนกลอนสี่สุภาพ แต่ละวรรคมักจะขึ้นต้นด้วยคำว่า เมื่อนั้น” “บัดนั้นและ มาจะกล่าวบทไป

                              บัดนั้น                                                   ดะหมังผู้มียศถา

                      นับนิ้วบังคมคัลวันทา                                       ทูลถวายสาราพระภูมี
                                  เมื่อนั้น                                                  ระตูหมันหยาเรืองศรี

                       รับสารมาจากเสนี                                             แล้วคลี่ออกอ่านทันใด

เรื่องย่อ    เนื้อเรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง มีดังนี้
         ท้าวกะหมังกุหนิงส่งทูตไปสู่ขอบุษบา แต่ได้รับการปฏิเสธจากท้าวดาหาจึงเตรียมจัดยกทัพไปตีเมืองดาหาโดยให้พระอนุชา ยกทัพมาช่วย ท้าวกะหมังกุหนิงให้วิหยาสะกำเป็นทัพหน้า พระอนุชาทั้งสองเป็นทัพหลัง    ฝ่ายท้าวดาหาได้ขอความช่วยเหลือไปยังท้าวกุเรปัน และท้าวกาหลัง และท้าวสิงหาส่าหรี ท้าวกุเรปันส่งราชสารฉบับหนึ่งส่งให้อิเหนายกทัพมาช่วยท้าดาหาทำศึก อีกฉบับส่งไปให้ระตูหมันหยาโดยตำหนินางจินตหราว่าเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดศึกครั้งนี้ ระตูหมันหยารู้สึกผิดจึงเร่งให้อิเหนายกทัพไปเมืองดาหา ส่วนท้าวกาหลังให้ตำมะหงงกับดะหมังคุมทัพมาช่วย  ท้าวสิงหัดส่าหรีส่งสุหรานากงผู้เป็นโอรสมา   เมื่อทะที่ช่วยเมืองดาหารบมาครบกันแล้ว  อิเหนามีบัญชาให้จักทัพรบกับท้าวกะหมังกุหนิง    ครั้นทั้งสองฝ่ายเผชิญหน้ากัน  สังคามาระตาเป็นคู่ต่อสู้กับวิหยาสะกำและสังหารวิหยาสะกำได้ ท้ากะหมังกุหนิงเห็นโอรสถูกสังหารตกจากม้าก็โกรธ ขับม้าไล่ล่าสังคามาระตา อิเหนาจึงเข้าสกัดและต่อสู้ ทั้งสองฝ่ายฝีมือเท่าเทียมกัน จนในที่สุดอิเหนาจึงใช้กริชสังหารท้าวกะหมังกุหนิงได้ ทัพฝ่ายท้าวกะหมังกุหนิงจึงเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ไป 
เนื้อเรื่อง          
ท้าวกะหมังกุหนิงปราศรัยกับระตูปาหยังและท้าวปะหมัน
                                 เมื่อนั้น                                    ท้าวกะหมังกุหนิงเรืองศรี
                    เสด็จเหนือแท่นรัตน์มณี                       ภูมีเห็นสองอนุชา
                    จึงตรัสเรียกให้นั่งร่วมอาสน์                 สำราญราชหฤทัยหรรษา
                    แล้วปราศรัยระตูบรรดามา                    ยังปรีดาผาสุกหรือทุกข์ภัย
                    ซึ่งเราให้มาในทั้งนี้                              จะไปตีดาหากรุงใหญ่
                    ระตูทุกนครอย่านอนใจ                       ช่วยเราชิงชัยให้ทันการ
                                                              ฯลฯ
                                    
                                        ท้าดาหาเสด็จออกรับทูตกะหมังกุหนิง
                                      เมื่อนั้น                                พระองค์ทรงพิภพดาหา
                        ครั้นสุริย์ฉายบ่ายสามนาฬิกา             ก็โสรจรงคงคาอ่าองค์
                        ทรงเครื่องประดับสรรพเสร็จ            แล้วเสด็จย่างเยื้องยูรหงส์
                         ออกยังพระโรงคัลบรรจง                  นั่งลงบนบัลลังก์รูจี
                         ยาสาบังคมบรมนาถ                           เบิกทูตถือราชสารศรี
                         จึงดำรัสตรัสสั่งไปทันที                     ให้เสนีนำแขกเมืองมา
                                                                   ฯลฯ
                                     ท้าวกุเรปันมีราชสารถึงอิเหนาและระตูหมันหยา
                                            เมื่อนั้น                                      องค์ท้าวกุเรปันเป็นใหญ่
                           ครั้นดะหมังเสนาทูลลาไป                          พระตรึกไตรในคดีด้วยปรีชา
                           แล้วตรัสแก่กะหรัดตะปาตี                          อันสงครามครั้งนี้เห็นหนักหนา
                           จะเปลี่ยวเปล่าเศร้าใจอนุชา                          ไม่มีที่จะปรึกษาหารือใคร
                           เจ้าจงยกพลขันธ์ไปบรรจบ                           สบทบทัพอิเหนาให้จงได้
                          ชวนกันยกรีบเร็วไป                                       อย่าทันให้ปัจจามิตรติดพารา
                                                                         ฯลฯ

                                                                
คำศัพท์

กระยาหงัน
วิมาน  สวรรค์ชั้นฟ้า
กะระตะ
เร่งม้า
กั้นหยั่น
อาวุธสำหรับเหน็บติดตัว
กิดาหยัน
ผู้มีหน้าที่รับใช้ใกล้ชิดพระมหากษัตริย์
กิริณี
ช้าง
แก้วพุกาม
แก้วอันมีค่าจากเมืองพุกามในพม่า
เขนง
เขาสัตว์สำหรับใส่ดินปืน
คับแคบ
ชื่อนกชนิดหนึ่งเป็นนกเป็ดน้ำที่มีขนาดเล็กที่สุด
เค้าโมง
ชื่อนกมีหลายชนิดหากินเวลากลางคืน เค้า หรือ ฮูก ก็เรียก
แค
ชื่อต้นไม้ดอกมีสีขาวและแดง ยอดอ่อนและฝักกินได้
งาแซง
ไม่เสี้ยมปลายแหลม วางเอนเรียงเป็นลำดับสำหรับป้องกัน
จากพราก
ชื่อนกในวงศ์นกเป็ดน้ำ ในวรรณคดีนิยมว่าคู่ของนกชนิดนี้ว่าต้องพรากและครวญถึงกันในเวลากลางคืน
เจียระบาด
ผ้าคาดเอวชนิดหนึ่ง มีชายห้อยที่หน้าขา
ชนัก
เครื่องผูกคอช้าง ทำด้วยเชือกมีปมหรือห่วงห้อยพาดลงมาเพื่อให้คนที่ขี่ใช้หัวแม่เท้าคีบกันตก
ชมพูนุช

ชักปีกกา
รูปกองทัพที่ตั้ง มีกองขวา กองซ้ายคล้ายปีก
ชาลี
ตาข่าย
ชังคลอง
แย่งทางที่ตนจะได้เปรียบ
เช็ดหน้า
ผ้าเช็ดหน้า
ดะหมัง
เสนาผู้ใหญ่
ตระเวนไพร
ชื่อของนกชนิดหนึ่ง ชอบหากินเป็นฝูง
ตรัสเตร็จ
สว่างแจ้ง สวยงาม
ตาด
ผ้าทอด้วยไหมควบเส้นเงินหรือเส้นทอง
ตำมะหงง
เสนาผู้ใหญ่
ตุนาหงัน
หมั้น
เต่าร้าง
ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง ต้นคล้ายต้นหมาก ผลทะลายเป็นพวง
ไถ้
ถุงสำหรับคาดเอวนำติดตัวไปที่ต่างๆ
ธงฉาน
ธงนำกระบวนการ มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม
ธงชาย
ธงมีชายเป็นรูปสามเหลี่ยม
นามครุฑา
ชื่อการตั้งค่ายกองทัพตามตำราพิชัยสงคราม
แน่นนันต์
มากมาย
บุหรง
นกยูง
เบญจวรรณ
นกแก้ว ขนาดใหญ่มีหลายสี
ประเสบัน
ที่พักเจ้านาย
ปาเตะ
ชื่อตำแหน่งขุนนาง
ปืนตับ
ปืนหลายกระบอกเรียงกันเป็นตับ
พลขันธ์
กองกำลังทหาร
พันตู
ต่อสู้ติดพัน
โพยมบน
ท้องฟ้าเบื้องบน
ไพชยนต์
ชื่อรถหรือวิมานของพระอินทร์ ใช้เรียกที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดิน
เฟื่อง
เครื่องห้อยโยงตามช่องหน้าต่างเพื่อประดับให้งาม
ภัสม์ธุลี
ผง ฝุ่น ละออง
มณฑก
เรียกปืนเล็กยาวชนิดหนึ่งว่า ปืนมณฑก

บทวิเคราะห์
       บทละครเรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง สามารถนำมาวิเคราะห์และประเมินคุณค่าในด้านต่างๆได้ดังนี้
คุณค่าทางด้านเนื้อหา
๑)     กโครงเรื่อง
       ๑.๑) แนวคิดของเรื่อง เรื่องอิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิงเป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นถึงความรักที่พ่อมีให้ต่อลูก รักและตามใจลูกทุกอย่าง แม้กระทั่งตัวตายก็ยอม
      ๑.๒) ฉาก เนื้อเรื่องเป็นเรื่องของชวา แต่การบรรยายฉากในเรื่องเป็นฉากของไทย บ้านเมืองที่กล่าวพรรณนาไว้คือกรุงรัตนโกสินทร์ วัฒนธรรมประเพณีที่ปรากฏในเรื่องคือเรื่องของไทยที่สอดแทรกไว้อย่างมีศิลปะ อาทิ พระราชพิธีสมโภชลูกหลวง(เมื่ออิเหนาประสูติ) พระราชพิธีการพระเมรุที่เมืองหมันหยา พระราชพิธีรับแขกเมือง (เมื่อเมืองดาหารับทูตจรกา) พระราชพิธีโสกันต์ (สียะตรา) ซึ่งล้วนแต่เป็นพรราชพิธีของไทยแต่โบราณ
    ๑.๓) ปมขัดแย้ง ตอนศึกกะหมังกุหนิงมีหลายข้อขัดแย้ง แต่ละปมปัญหาเป็นเรื่องที่อาจเกิดได้ในชีวิตจริง ละสมเหตุสมผล เช่น
        ท้าวกุเรปันจะให้อิเหนาอภิเษกกับบุษบา แต่อิเหนาหลงรักจินตะหรา ไม่ยอมอภิเษกกับบุษบา
๒)   ตัวละคร ในเรื่องอิเหนาตอนศึกกะหมังกุหนิง มีตัวละครที่มีบทบาทสำคัญปรากฏอยู่มาก ตัวละครมีบุคลิกนิสัยที่โดดเด่นและแตกต่างกัน เช่น เช่น
           ๒.๑) ท้าวกุเรปัน เป็น กษัตริย์เทวาผู้ยิ่งใหญ่ มีอนุชา ๓ องค์ ครองเมืองดาหา กากลัง สิงหัดส่าหรี ลักษณะนิสัย เป็นคนถือยศศักดิ์ ไม่ไว้หน้าใคร เป็นคนรักเกียรติรักวงศ์ตระกูล
           ๒.๒) ท้าวดาหา เป็นอนุชาองค์รองของท้าวกุเรปัน มีลักษณะนิสัย เป็นผู้รักษาคำสัตย์ เป็นผู้ที่มีขัตติยะมานะ เป็นผู้มีความรอบคอบในการศึก
           ๒.๓) อิเหนา เป็นโฮรสท้าวกุเรปันกับประไหมสุหรี  อิเหนาเป็นหนุ่มรูปงาม เข้มแข็ง ใจเด็ด เอาแต่ใจตนเอง เจ้าชู้
           ๒.๔) จินตะหรา ราชธิดาของระตูหมันหยากับประไหมสุหรี มีลักษณะนิสัย เป็นคนแสงงอนใจน้อย เป็นคนมีเหตุมีผล ไม่ดื้อดึง เป็นคนที่มีความรู้สึกไว รับรู้ไว
           ๒.๕) ท้าวกะหมังกุหนิง เป็นกษัตริย์เมืองกะหมังกุหนิง มีลักษณะนิสัย ป็นคนรักลูกยิ่งชีวิต เป็นคนใจเด็ดขาด เป็นคนประมาท      
คุณค่าด้านกลวิธีการแต่ง
๑. จินตภาพ กวีใช้คำบรรยายได้ชัดเจน สามารถทำให้ผู้อ่านสามารถคิดภาพตามและได้รับอรรถรสในการอ่านมากขึ้น
๒.   ภาพพจน์ ภาพพจน์ที่กวีใช้มีหลายลักษณะ ดังนี้
                   ๒.๑) การเปรียบเทียบแบบอุปมา หรืออุปมาโวหาร เป็นการใช้โวหารเปรียบเทียบโดยใช้คำเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเหมือนสิ่งหนึ่ง ทำให้เห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
                   ๒.๒)การเปรียบเทียบการเกินจริงหรือการใช้โวหารอธิพจน์เป็นการใช้คำเปรียบเทียบที่เกินจริง เพื่อเน้นความรู้สึกให้ผู้อ่านเห็นภาพและเกิดความลึกซึ้งได้ง่าย
๓.    การเล่นคำ โดยการซ้ำคำ มีการใช้ภาษาสละสลวยงดงาม การเล่นคำพ้องเสียง เล่นสัมผัสพยัญชนะเพื่อให้เกิดความไพเราะ
คุณค่าด้านความรู้และความคิด
๑)แสดงให้เห็นความเชื่อ ประเพณี และพิธีกรรมโบราณ
๒)   แสดงให้เห็นถึงสภาพการศึกสงครามเมื่อครั้งอดีต
ข้อคิดเตือนใจ ที่ว่าลูกของใครใครก็รัก แต่การที่รักและตามใจลูกจนเกินไปบางครั้งความรักของพ่อแม่ก็อาจจะฆ่าลูกและฆ่าตนเองด้วย
                  อิเหนา เป็นบทละครที่มีเนื้อหาเป็นที่นิยม เนื่องด้วยสำนวนกลอนมีความไพเราะและเหมาะที่จะนำไปเล่นละคร แม้จะมีเค้าเรื่องมาจากนิทานพื้นเมืองชวา แต่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงดัดแปลงแก้ไขให้เข้ากับธรรมเนียมและรสนิยมของคนไทยได้โดยไม่ขัดกับเรื่องเดิม นอกจากนี้ผู้อ่านยังอาจแสวงหาความรู้เรื่องประเพณีไทยได้ ด้วยเหตุนี้บทละครเรื่องอิเหนาจึงเป็นวรรณคดีที่มีความโดเด่นและควรค่าแก่การอ่านเป็นอย่างยิ่ง

ศึกกะะหมังกุหนิง


ที่มา:https://sites.google.com/site/phasathiym4/raywicha-phasa-thiy-chan-mathymsuksa-pi-thi4/bth-thi2-reuxng-xihena-txn-suk-ka-h-mangku-hning


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น